5 ความจริงของ Task Killer บน Android
Task Killer – ปัญหาหนึ่งของผู้ใช้สมาร์ทโฟน โดยเฉพาะกับระบบปฎิบัติการณ์แอนดรอยด์ ก็คือแบตหมดไว ซึ่งมาจากหลายปัจจัย หนึ่งในนั้นต้องเกิดจากการเปิดใช้งานแอพฯ หลายๆ ตัว แล้วบังเกิดมโนภาพไปว่า สิ่งนี้น่าเป็นตัวการสำคัญให้ เครื่องอืด กินไฟ คล้ายๆ กับ เปิดโปรแกรมหลายๆ ตัวในวินโดวส์ พร้อมกัน ทำให้บรรดาแอพพลิเคชั่น ช่วยปิด running app in Background หรือ Task Killer เกิดปะทุขึ้นมาราวดอกเห็ด ซึ่งความเป็นจริงแล้ว มันเป็นแบบนี้จ๊ะ ….
1. Android เป็น OS multitasking ที่มีพื้นฐานมาจาก Linux สังเกต เวลาเข้า setting > app management > running app จะแบ่งแถบข้างล่างเป็น 2 ส่วน ได้แก่ running service กับ cached process คือ การจัดการ Memory แบบ Linux ที่ต้องลดการใช้งาน I/O เช่น อ่านไฟล์จาก HDD หรือ flash memory ให้เหลือน้อยที่สุด
2. Android OS จะเลือกเอาไฟล์โปรแกรมที่เราใช้บ่อยๆ มาไว้ในส่วน cached process เวลาเปิดโปรแกรมจะได้อ่านจาก memory ได้เลย ซึ่งถ้าเปิดโปรแกรมที่ไม่อยู่ใน cached process ก็จะต้องโหลดไฟล์มาใส่ memory ก่อน จึงจะรันโปรแกรมได้ เป็นการโหลดเพื่อรันโปรแกรม
3. Task Killer แต่ละตัว จะไปลบไฟล์โปรแกรมที่ถูก cached ออกจาก Memory เพื่อให้ผู้ใช้มองเห็นว่า free ram ได้เพิ่มขึ้น ซึ่ง free ram ดังกล่าว นอกจากไม่ได้ทำให้เร็วขึ้น ยังกินไฟมากกว่าเดิมด้วย เพราะ OS จะพยายามหาอะไรมา cached process กลับเข้าไปให้เต็มอยู่ดี ฉะนั้น การโหลดไฟล์จาก flash เข้า memory ก็กินไฟ ยิ่ง kill task บ่อย มันก็ยิ่งโหลดบ่อย CPU ถูกปลุกจาก sleep state บ่อย กินไฟยิ่งขึ้นไปอีก!!!
4. การเรียกโปรแกรมที่ใช้ memory เยอะๆ เช่น เกม จึงควรรอให้ตัว OS จัดการ cached process ทิ้งไปชั่วคราวด้วยตัวเอง
5. ฉะนั้น การ kill task เพื่อให้เกิด free ram บน Android OS จึงเท่ากับไปสวนทางการทำงานของตัวAndroid OS ที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่แล้ว ” free ram is wasted ram ” Task Killer ทั้งหลายจึงไม่จำเป็นด้วยประการฉะนี้จ้า!!
ขอขอบคุณข้อมูลดีดี จาก http://tech.mthai.com/software/13404.html